
นายสุภาพ อัจฉริยศรีพงศ์
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เกิด วันที่ 7 พฤศจิกายน 2496
การศึกษา
EDUCATION
- ปริญญาเอก (Ph.D.) Molecular Biology, University of Portsmouth, อังกฤษ
- ปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต ชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ประกาศนียบัตรปฏิบัติการจิตวิทยา ฝ่ายอำนายการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ประสบการณ์การทำงาน
WORK EXPERIENCE
- อดีตรองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (วว.)
- ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วว.
- ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีชีวภาพ วว.
- ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวุฒิสภา
- อนุกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวุฒิสภา
- กรรมการอำนวยการชมรมคลังสมอง สถาบันจิตวิทยาเพื่อความมั่นคงของชาติ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
- คณะกรรมการประจำหลักสูตร/สาขาวิชา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (สาขาจุลชีววิทยา)
- คณะกรรมการกำกับดูแลยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดปทุมธานี
- ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เสนอของบประมาณ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- คณะทำงานพิจารณาและกำกับติดตาม โครงการวิจัยของศูนย์ประสานงานพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน (ศพช.) กระทรวงสาธารณสุข
- คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ด้านอนุกรมวิธาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประจำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะอนุกรรมการพิจารณารับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
CURRENT POSITION
- คณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ
วิสัยทัศน์
VISION
หน่วยงานที่เป็นองค์กรทางด้านนวัตกรรมต้องเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อนำ “นวัตกรรม” ออกไปสู่ภาคประชาชนและภาคบริการ พร้อมทั้งต้องสร้างการรับรู้ความเข้าใจในเรื่องของนวัตกรรมให้เกิดขึ้น เมื่อเกิดความเข้าใจก็จะสามารถดำเนินการต่อไปได้ เพราะยังมีผู้ที่ไม่เข้าใจถึงคำว่านวัตกรรมเป็นจำนวนมาก หรืออาจมีความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้อง รวมถึงการสนับสนุนต่อยอดเพื่อจะทำให้นวัตกรรมได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการภาคการผลิต ภาคบริการ หรือภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญเพราะนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในส่วนของผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการผลิตใหม่ๆ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องมีการนำไปใช้เพื่อให้เกิดผลต่อเศรษฐกิจและสังคม
STRATEGY
ภายใต้กรอบ 3 G คือ ตัวสะท้อนภาพการทำงานของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ประกอบด้วย Groom, Grant และ Growth โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ มีบทบาทสำคัญในเรื่องของการขับเคลื่อน เช่น การทำหลักสูตรอบรมต่างๆ หรือการทำโครงการที่มีการนำเอาผู้ประกอบการในด้านต่างๆ ได้เข้ามาเรียนรู้และสร้างสรรค์ในเรื่องของนวัตกรรม อีกส่วนหนึ่งที่มีบทบาทเข้าไปขับเคลื่อน ในเรื่องการให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม เอสเอ็มอีและวิสาหกิจเริ่มต้นมีการนำเอานวัตกรรมไปสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการใหม่เพื่อไปช่วยในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต หรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านกำลังการผลิต การบริการ
มากขึ้น
รวมถึงการผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมนำเอานวัตกรรมที่ได้จากงานวิจัยไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) เพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ มีเรื่องของการให้ความช่วยเหลือในเรื่องของการหาช่องทางการตลาดที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์เหล่านี้
“นวัตกรรม หมายถึงผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่ได้สร้างสรรค์ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือเป็นวิธีการใหม่ที่จะสามารถช่วยในเรื่องการลดต้นทุนเพิ่มกำลังการผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผล หากเป็นผลิตภัณฑ์ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใหม่ แปลกกว่าสิ่งที่มีอยู่เดิมและต้องเป็นสิ่งที่มีผู้ต้องการหรือสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง”
GOAL
ทำอย่างไรเพื่อที่จะทำให้ตัวนวัตกรรมเป็นที่รู้จักและถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องหาทางช่วยสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษา การให้ทุนสนับสนุนไปจนถึงเรื่องการหาช่องทางการตลาดให้เพราะเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งบางครั้งผู้ประกอบการสามารถพัฒนาตัวนวัตกรรมที่ดีขึ้นมาได้ แต่ไม่รู้ว่าตลาดอยู่ที่ไหนหรือนวัตกรรมที่สามารถทำออกมาในเชิงพาณิชย์ได้แต่ยังขาดความสมบูรณ์ในบางเรื่องมีความจำเป็นต้องให้การสนับสนุนไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง เพื่อผลักดันให้นวัตกรรมสามารถนำออกไปใช้งานได้จริง